วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

LED กับ LCD เทคโนโลยีจอภาพ

เวลาเดินในห้างผ่านโซนไอที ทุกท่านจะเห็นกับจอทีวีหลากหลาย จอเล็กบ้างใหญ่บ้าง บางจอภาพมันคมชัดมากๆ เมื่อเข้าไปดูตรงรายละเอียดก็พบคำว่า LEDหรือไม่ก็ LCD ซึ่งเจ้าคำสองคำนี้ที่ทำให้น้ำใสติดใจว่ามันคืออะไร ทำไมจอถึงได้ดูคมชัดสมจริงแบบนี้ วันนี้บทความนี้จะมาไขข้อข้องใจกัน

ยุคนี้ถือเป็นยุคของแอลซีดีเฟื่องฟูอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะมอนิเตอร์หรือทีวีก็ตามด้วยราคาที่แสนเร้าใจ แถมยังคุณภาพของภาพที่ได้ก็ดีขึ้นมากใกล้เคียงจอแบบ CRT เข้าไปทุกขณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจอแอลอีดี – แอลซีดี เริ่มมีมาให้เห็นกันมากขึ้น แต่คงยังมีความสับสนอยู่ไม่น้อยกับจอภาพแอลอีดี-แอลซีดีที่เข้ามาจำหน่ายอยู่ในเวลานี้ แท้จริงแล้วคืออะไร เป็นแบบไหนกันแน่หาคำตอบให้หายสงสัยจากบทความนี้เลยครับ

แอลอีดี (LED) – แอลซีดี(LCD)

ยังมีความสับสนกันไม่น้อยสำหรับจอภาพแอลอีดี LED ย่อมาจาก Light-emitting-diod ที่มีออกมาจำหน่ายในเวลานี้ส่วนหนึ่งก็เพราะคำโฆษณาของผู้ผลิต ทำให้ผู้ใช้เข้าใจไปว่ามันคือจอภาพแบบใหม่ เป็นเทคโนโลยีใหม่ แท้จริงแล้ว ต้องเรียกว่าเป็นจอภาพที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ เป็นยุคถัดไปที่จะมาแทนที่แอลซีดี เรียกว่าจอภาพแบบโอแอลอีดี(OLED) จะใช้หลอดแอลอีดีมาเรียงรายกันบนพาแนลแล้วทำให้เกิดภาพด้วยการติด – ดับของหลอดแอลซีดีซึ่งก็ได้ภาพที่ตาเรามองเห็นออกมา ซึ่งในเวลานี้มันยังมีราคาที่สูงเอามากๆ มีแต่ตัวต้นแบบออกมาให้เห็นเท่านั้นเอง ด้วยต้นทุนที่สูงอยู่ทำให้ยังไม่สามารถผลิตออกมาเพื่อจำหน่วยได้จริง รวมไปถึงยังพัฒนาไปได้ไม่เต็มที่นัก เพราะยังไม่สามารถผลิตจอภาพโอแอลอีดีที่มีขนาดใหญ่มาก อีกทั้งคุณภาพที่ได้เทียบกับจอแอลซีดีรุ่นใหม่ที่ได้รับการพัฒนามาเยอะแล้ว ภาพของแอลซีดียังถือว่าทำได้ดีกว่า และยิ่งเทียบกับราคาต่อขนาดกันแล้ว ในเวลานี้จอ LED เริ่มออกมาสู่ท้องตลาดแล้ว ภาพที่ได้ก็ให้ความรู้สึกที่ดูแล้วสบายตา สมจริงมากๆ เราได้เห็นจอภาพแบบโอแอลดอีดีตัวแท้ๆ ออกมาจำหน่ายแต่ก็ยังไม่กล้าคิดถึงราคาที่ค่อนข้างสูงอยู่มากๆ



จอ LED จอ LCD

ได้ทำความรู้จักกับจอภาพที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ จอภาพแบบโอแอลอีดีกันบ้างไปแล้ว คราวนี้เรามาเรื่องจอแอลอีดีซึ่งเป็นหัวข้อหลักของเราในบทความนี้กันต่อ สำหรับจอแอลอีดีซึ่งเป็นหัวข้อหลักของเราในบทความนี้กันต่อ สำหรับจอแอลอีดีที่จำหน่ายกันอยู่เวลานี้ เรียกว่าอยู่ในกระแสที่คนกำลังให้ความสนใจกันไม่น้อยทีเดียว แท้จริงแล้วมีนก็คือจอภาพแบบแอลซีดีที่เราใช้กันอยู่ เพียงแต่มีการปรับเปลี่ยนการทำงานภายใน งานนี้ต้องนึกไปถึงการทำงานของจอแอลซีดีกันเล็กน้อย โดยโครงการสร้างภาพของแอลซีดีจะใช้การเปลี่ยนแปลงของเหลวที่อยู่ภายใน ซึ่งทำปฏิกิริยาแบบผกผันลันกับอุณหภูมิซึ่งไม่ควนเอาโน้ตบุ๊กไว้ในรถนะครับ แล้วใช้การยิงลำแสงผ่านจากด้านหลังพาแนลที่เรียกกันว่าแบ็กไลต์ (Backlit เป็นคนละแบบกับแสงแบ็กไลต์ที่จสะท้อนแสงในที่มืด) ซึ่งเป็นสีขาวโดยใช้หลอดฟลูออเรศเซนแบบเย็น (CCFL : Clod Cathohe) ทำให้เกิดขึ้นมาเป็นภาพที่ตาเราสองเห็นได้ แท้จริงแล้วก็เหมือนเราดู “เงา” ของผลึกเหลวในขณะทำงาน เพราะจอภาพแอลซีดีไม่สามารถกำเนิดแสงได้ด้วยตนเองจึงต้องใช้การยิงแสงแบ็กไลต์(Backlit) นั้นเอง ซึ่งตรงจุดนี้ล่ะแบ็กไลต์จากเดิมซึ่งใช้เป็นหลอดไฟฟลูออเรสเซนแบบเย็น (CCFL : Clod Cathohe) มาใช้เป็นหลอดแอลอีดีแทน และยังเป็นการใช้หลอดแอลอีดีถึงสามสีประกอบด้วยแม่สี แดง เขียว น้ำเงิน (RGB)

แอลอีดี อีกระดับของภาพจากจอภาพแอลซีดี

การเปลี่ยนมาใช้ไปแบ็กไลต์เป็นหลอดแอลอีดี มีผลดีตามมาหลายด้านพอตัวครับ โดยเฉพาะเรื่องของภาพที่มันช่วยเพิ่ม Contrast ให้กับภาพที่แสดงผลออกมา จึงแสดงรายละเอียดต่างๆ ของภาพได้ดีขึ้น โดยเฉพาะในฉากที่แสดงผลออกมา จึงแสดงรายละเอียดต่างๆของภาพให้ดีขึ้น โดยเฉพาะในฉากที่มีภาพมืดหรือฉากที่มีระดับความสว่างของวัตถุอยู่หลายระดับ แสดงผลสีดำได้ลึกและดูมีมิติมากขึ้น ลบข้อด้อยในการแสดงผลสีดำที่ติดตัวจอภาพแอลซีดีมาช้านานนั้นลงไปใกล้เคียงภาพจากจอพลาสมาที่แสดงผลสีดำได้อย่างยอดเยี่ยมเข้าไปทุกที ช่วยให้แอลซีดีพาแนลสามารถแสดงสีสันได้ดีขึ้น (wider clolor gamut) ทำให้ภาพดูเป็นธรรมาชาติ นอกจากข้อดีในเรื่องของภาพที่ดีขึ้นแล้วยังได้ในเรื่องของดีไซน์ด้วยเพราะจอภาพมีขนาดบางลง ความร้อนในขณะจอทำงานลดลงและประหยัดพลังงานมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย ด้วยข้อดีหลายอย่างที่เกิดขึ้นก็เลยทำให้จอแอลอีดีดูน่าซื้อมาใช้เป็นที่สุด

จอ LCD คืออะไร ?

เทคโนโลยีมอนิเตอร์ LCD ย่อมาจาก Liquid Crystal Display ซึ่งเป็นจอแสดงผลแบบ (Digital ) โดยภาพที่ปรากฏขึ้นเกิดจากแสงที่ถูกปล่อยออกมาจากหลอดไฟด้านหลังของจอภาพ (Black Light) ผ่านชั้นกรองแสง (Polarized filter) แล้ววิ่งไปยัง คริสตัลเหลวที่เรียงตัวด้วยกัน 3 เซลล์คือ แสงสีแดง แสงสีเขียวและแสงสีนํ้าเงิน กลายเป็นพิกเ:ซล (Pixel) ที่สว่างสดใสเกิดขึ้น

เทคโนโลยีที่พัฒนามาใช้กับ LCD นั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

  • Passive Matrix หรือที่เรียกว่า Super-Twisted Nematic (STN) เป็นเทคโนโลยีแบบเก่าที่ให้ความคมชัดและความสว่างน้อยกว่า ใช้ในจอโทรศัพท์มือถือทั่วไปหรือจอ Palm ขาวดำเป็นส่วนใหญ่
  • Active Matrix หรือที่เรียกว่า Thin Film Transistors (TFT) สามารถแสดงภาพได้คมชัดและสว่างกว่าแบบแรก ใช้ในจอมอนิเตอร์หรือโน๊ตบุ๊ก

TN + Film (Twisted Nematic + Film)
Twisted Nematic (TN) คือสารประเภทนี้จะมีการจัดโครงสร้างโมเลกุลเป็นเกลียว แต่ถ้าเราผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปมันก็จะคลายตัวออกเป็นเส้นตรง เราใช้ปรากฏการณ์นี้เป็นตัวกำหนดว่าจะให้แสงผ่านได้หรือไม่ได้ Twisted Nematic (TN) ผลึกเหลวชนิดนี้จะให้เราสามารถเปลี่ยนทิศทางการสั่นของคลื่นแสงได้ 90? ถึง 150? คือเปลี่ยนจากแนวตั้งให้กลายเป็นแนวนอน หรือเปลี่ยนกลับกันจากแนวนอนให้เป็นแนวตั้งก็ได้ ด้วยจุดนี้เองทำให้การค่า Response Time (ค่าตอบสนองสัญญาณเทียบกับเวลา) มีค่าสูง

IPS (In-Plane Switching or Super-TFT)
การจัดโครงสร้างของผลึกจากเดิมที่วางไว้ตามแนวขนานกับแนวตั้ง (เทียบกับระนาบ) เปลี่ยนมาเป็นวางตามแนวขนานกับระนาบ เรียกจอชนิดนี้ว่า IPS (In-Plane Switching or Super-TFT) จากเดิมขั้วไฟฟ้าจะอยู่คนละด้านของผลึกเหลวแต่แบบนี้จะอยู่ด้านเดียวกันแปะหัวท้ายเพราะย้ายแนวของผลึกให้ตั้งขึ้น (เมื่อมองจากมุมมองของคนดูจอ) เป้าหมายเพื่อออกแบบมาแก้ไขการที่มุมของผลึกเหลวจะเปลี่ยนไปเมื่อมันอยู่ห่างจากขั้วไฟฟ้าออกไป ปัญหานี้ทำให้จอมีมุมมองที่แคบมาก จอชนิด IPS จึงทำให้สามารถมีมุมมองที่กว้างขึ้น แต่ข้อเสียของจอชนิดนี้ก็คือ ต้องใช้ทรานซิสเตอร์สองตัวต่อหนึ่งจุดทำให้เปลืองมาก นอกจานั้นการที่มีทรานซิสเตอร์เยอะกว่าเดิมทำให้แสงจากด้านหลังผ่านได้น้อยลง ทำให้ต้องมี Backlite ที่สว่างกว่าเดิม ความสิ้นเปลืองก็มากขึ้นอีกด้วย

MVA (Multi-Domain Vertical Alignment)
บริษัท Fujisu ค้นพบผลึกเหลวชนิดใหม่ที่ให้คุณสมบัติ คือทำงานในแนวระนาบโดยธรรมชาติและต้องการทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียวก็สามารถให้ผลลัพธ์เหมือน IPS เลยเรียกว่าว่าชนิด VA (Vertical Align) จอชนิดนี้จะไม่ใช้ผลึกเหลวที่ทำงานเป็นเกลียวอีกต่อไป แต่จะมีผลึกเป็นแท่ง ซึ่งปกติถาไม่มีไฟป้อนเข้าไปหาก็จะขวางจอเอาไว้ทำให้เป็นสีดำ และเมื่อได้รับกระแสไฟฟ้าก็จะตั้งฉากกับจอให้แสงผ่านเป็นสีขาว ทำให้จอชนิดนี้มีความเร็วสูงมาก เพราะไม่ได้คลี่เกลียว แต่ปรับทิศทางของผลึกเท่านั้น จอชนิดนี้จะมีมุมมองได้กว้างราว 160 องศา

ปัจจุบันบริษัท Fujisu ได้ออกจอชนิดใหม่คือ MVA (Multi-Domain Vertical Alignment) ออกมาแก้บั๊กตัวเอง คือจากรูจะเห็นว่าด้วยความที่เป็นผลึกแท่ง และองศาของมันใช้กำหนดความสว่างของจุด ดังนั้นเมื่อมองจากมุมมองอื่น ความสว่างของภาพก็จะเปลี่ยนไปเลย เพราะถูกผสมในอีกรูปแบบหนึ่ง จอ Multidomain ก็จะพยายามกระจายมุมมองให้แต่ละ Pixel นั้นมีผลึกหลายมุมเฉลี่ยกันไป ทำให้ผลกระทบจากการกระมองมุมที่ต่างออกไปหักล้างกันเอง

เทคโนโลยีมอนิเตอร์แบบ LCD มีจุดเด่นหลายประการคือ

  • ขนาดเล็กกะทัดรัดและนํ้าหนักเบา
    ด้วยการทำงานที่ไม่ต้องอาศัยปืนยิงอิเล็กตรอน จึงช่วยให้ด้านลึกของจอภาพมีขนาดสั้นกว่ามอนิเตอร์แบบ CDT ถึง 3 เท่าและด้วยรูปร่างที่แบนราบทางด้านหน้าและด้านหลัง ในบางรุ่นจึงมีอุปกรณ์เสริมพิเศษสำหรับติดฝาผนังช่วยให้ประหยัดพื้นที่มากยิ่งขึ้น
  • พื้นที่การแสดงผลเต็มพื้นที่
    จากเทคโนโลยีพื้นฐานในการออกแบบ ทำให้จอมอนิเตอร์แบบ LCD สามารถแสดงผลได้เต็มพื้นที่เมื่อเปรียบเทียบกับแบบ CDT ขนาด 17 นิ้วเท่ากัน พื้นที่แสดงผลที่กว้างที่สุดจะอยู่ที่ 15 นิ้วกว่าๆ เท่านั้น
  • ให้ภาพที่คมชัด มีรายละเอียดสูง และมีสัดส่วนที่ถูกต้อง
    เนื่องจากมอนิเตอร์มีความแบนราบจริง
  • ช่วยถนอมสายตาและมีอัตราการแผ่รังสีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตํ่ามาก
  • ประหยัดพลังงานไฟฟ้า
    ด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ตํ่ากว่าจอ CDT ถึง 60 เปอร์เซ็นต์
  • ความสามารถในการรองรับอินพุต (Input) ได้หลายๆแบบพร้อมกัน
    เนื่องด้วยมอนิเตอร์แบบ LCD สามารถรับสัญญาณจากแหล่งสัญญาณดิจิตอลอื่นๆได้ เช่น โทรทัศน์หรือเครื่องเล่นดีวีดีและบางรุ่นสามารถทำภาพซ้อนจากหลายแหล่งข้อมูลได้ จึงทำให้จอมอนิเตอร์แบบ LCD เป็นได้ทั้งเครื่องรับโทรทัศน์และจอมอนิเตอร์ในเวลาเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องซื้อมอนิเตอร์หลายๆ

เทคโนโลยีจอแสดงผล LED Screen

จอ LED เป็นระบบจอแสดงภาพขนาดใหญ่โดยใช้หลักการทำงานของการผสมสีของ LED หลัก3 สี ได้แก่ สีแดง (Red), สีเขียว(Green) และสีน้ำเงิน (Blue) หรือเรียกสั้นๆว่าRGB ให้เกิดเป็นสีต่างๆโดยความละเอียดในการปรับสีของLED แต่ละสีจะถูกควบคุมด้วยสายสัญญาณที่มีขนาดตั้งแต่16 บิตขึ้นไปดังนั้นยิ่งควบคุมด้วยจำนวนสายสัญญาณมากขึ้นก็จะได้ภาพที่มีความลึกของสี (Processing depth) มากขึ้นจึงได้ภาพที่สมจริงยิ่งขึ้น

ความก้าวหน้าในกระบวนการผลิตจอแสดงผล ทำให้สามารถมองถาพได้สมจริงมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งช่วยประหยัดไฟ ถนอมสายตา ดีต่อสุขภาพ



ที่มา: http://www.numsai.com

1 ความคิดเห็น: