วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ภัยเงียบ..! ภัยร้าย..! ป้องกันได้ ไวรัสตับอักเสบ ซี

ในปัจจุบัน โรคภัยไข้เจ็บต่างๆพัฒนาตามการพัฒนาเทคโนโลยีของมนุษย์และการพัฒนาก็ทำให้ค้นพบโรคใหม่ๆ (ที่มีมาก่อนนานแล้วและพัฒนาขึ้นมาใหม่) และยังมีโรคอีกจำนวนมากที่คนไม่สามารถล่วงรู้เงื่อนงำของมันได้

ไวรัสชนิดนี้ถูกค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2532 นี่เอง โดยแพทย์ชาวสหัฐอเมริกา เป็นไวรัสตัวอักเสบที่ติอต่อได้ทางเลือดและเป็นอาร์เอ็นเอไวรัส สายเดี่ยว ขนาดเล็ก พลตรีนายแพทย์อนุชิต จูฑะพุทธิ เลขาธิการมูลนิธิโรคตับแห่งประเทศไทยโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กล่าวถึงไวรัสตับอักเสบซี ว่า
ไวรัสตับักเสบ ซี มีความสำคัญแค่ไหน
องค์การอนามัยโลกได้ประมาณว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี เรื่อรังราว 170 ล้านคน ส่วนในประเทศไทยเราพบโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 1 – 2 โดยพบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากกว่าภาคอื่น ไวรัสตับอีกเสบ ซี นี้มีสำคัญไม่ด้ยกว่าไวรัสตับอักเสบ บี ได้พบมานานแล้ว และมีการฉีดวัคซีนป้องกันได้กว้างขวาง ทำให้การควบคุมประสบสำเร็จสูง ส่วนไวรัสตับอักเสบ ซี ยังไม่มีวัคซีนป้องกันได้ลัยังไม่พบว่ามีแนวโน้มที่จะค้นพบในเวลาอันใกล้นี้

ผู้ป่วยจากอาการไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อนังเกือบทุกรายจะมีอาการอักเสบของตับ และทำให้ตับส่อมสภาพลงไปเรื่อยๆ ในขณะที่ไวรัสตับอักเสบ ชนิด บี ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเรื้อรังส่วนใหญ่ไม่มีอาการอักเสบของตับ โดยพบเพียงร้อยละ 15 – 25 เท่านั้นที่มีอาการอักเสบและเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง

ใครคือผู้ที่เสี่ยงติดไวรัสตับอักเสบ ซี

1. ผู้ที่มีประวัติได้รับเลือด หรือส่วนประกอบจากเลือดเช่น พลาสมา (น้ำเลือด) หรือเกล็ด ที่อาจเกิดจากการเสียเลือด หรือป่วยเป็นไข้เลือดออก โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เคยได้รับเลือด หรือป่วยเป็นไข้เลือดออก โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เคยได้รับเลือดก่อนการค้นพอไวรัสตับอักเสบ ซี

2. ผู้ที่ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด

3. การสัก การเจาะตามร่างกาย สักคิ้ว ไม่ใช้ของมีคมที่สัมผัสผิวหนังรวมกัน เช่น มีดโอน กรรไกรตัดเล็บแปลงสีฝัน ฯลฯ

4. กลุ่มผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับการฟอกไตมาเป็นเวลานาน

5. การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ติดจากแม่ไปสู่ลูก(พบได้น้อยมาก)

เมื่อไวรัสตับอักเสบ ซี เข้าสู่ร่างกายจะเกิดอะไรขึ้น

เมื่อไวรัสตับอักเสบ ซี เข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะฟักตัว 6-8 สัปดาห์ จึงเริ่มมีอาการตับอักเสบ จะมีผู้ป่วยประมาณ10 -15 เปอรืเซ็นต์ ที่มีอาการตัวและนัย์ตาเหลือง หรือเป็นดีซาน มีอาการคล้ายๆ เป็นไข้หวัดใหญ่ อ่อนเพลียมาก รู้สึกเบื่ออาหาร คลื่อนไส้ อาเจียน ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยเองส่วนใหญ่ก็ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง โดยที่ยังมีไวรัสอยู่ในร่างกายตลอดเวลา และจะมีอาการอักเสบของตับขึ้นๆ ลงๆ อยู่ตลอดเวลา ของผู้ป่วยถึงร้อยละ 85 และมีผู้ป่วยเพียงส่วนน้อยแค่ร้อยละ 15 ที่อาจจัดการไวรัสได้หมดผู้ป่วยร้อยละ 20.30 จะเกิดอาการตับแข็งหลังจากได้รับเชื้อแล้ว 20 ปี

ปัจจัยที่กระตุ้นให้มีอาการรุนแรงขึ้น เช่น ได้รับเชื้อตอนที่อายุมากแล้ว ติดเชื้อจาการได้รับเลือด ดื่มเหล้า

อาการที่เกิดจากตับแข็ง

1. เมื่อตับไม่สามารถสร้างสารอาหารพลังงานและทำลายสารพิษต่างๆ ได้ตามปกติ มีผลให้อ่อนเพลียเบื่ออาหาร น้ำหนักลด คลื่นไส้ เท้าบวม บางรายมีน้ำในช่องท้อง (ท้องมาน) ตัวเหลือง ผิวแห้ง คันตามตัว หรือมีจ้ำเลือดง่าย ไวต่อสารพิษมาก ป่วยหรือติดเชื้อโรคง่ายถ้าเป็นมากตับจะหยุดทำงาน

2. มีพังผืดหรือแผลในตับมากขึ้น จะอาการอาเจียนเป็นเลือด จากภาวะหลอดเลือดป่งพองในหลอดอาการมีอาหารม้ามโต เพราะเลือดจากม้ามไหลกลับไปสู่ตับได้ช้าลง ถ้าม้ามโตมากๆ จะเกิดอาการกินเม็ดเลือด ทำให้ซีดหรือเกล้ดเลือดต่ำ

หลังจากผู้ป่วยเป็นตับแข็งแล้ว อาการจุรุนแรงมากขึ้นและจะทรุดลงตามลำดับ และจะมีโอกาศเสียชีวิตได้สูงจากภาวะแทรกซ้อนของโรคตับแข็ง เช่น อาเจียนเป็นเลือด จะมีอาการติดเชื้อรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการติดเชื้อในช่องท้องภาวะตับวาย และผู้ที่เป็นตับแข็งนี้ยังมีโอกาศเป็นมะเร็งตับได้สูงร้อยละ 2 -4 ต่อปี

ทราบได้อย่างไรว่าเป็นไวรัสตับอักเสบ ซี

ส่วนใหญ่นั้นจะรู้ว่าเป็นโดยบังเอิญ เช่น จากการตรวจร่างกายประจำปี การบริจากเลือด เมื่อตรวจพบว่าตับทำงานผิดปกติ แพทย์จะตรวจว่าเป็นเพราะอะไร ในผู้ป่วยบางรายอาจได้รับวัรัสในระยะที่เกิดตับแข็งแล้ว หรือโรคเป็นมะเร็งจากตับแข็ง เช่น ท้องมาน อาเจียนเป็นเลือด หรือเป็นมะเร็งตับแล้ว ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจตับและหาไวรัสตับต่างๆ

การป้องกัน

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันไวรัสตักเสบ ซี ทางที่ดีจึงเป็นการป้องกันเป็นหลัก โดนหลี่กเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง

การตรวจหาผู้ป่วย

เพราะระยะแรกของโรคนั้นไม่แสดงอาการ จึงต้องตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี และถ้าจำได้ว่าเคยดัรับเลือดหรือส่วนประกอบของเลือดก่อนปี 2533 ผู้ที่สำส่อนทางเพศ พวกที่ชอบสัก เจาะเนื้อตัวทั้งหลาย ให้ไปตรวจร่างกายไว้ก่อนได้เลยและถ้าพบว่าการทำงานของตับผิดปกติจะได้ทำการรักษาได้ทัน

การตรวจวินิจฉัยว่าคุณเป็นไวรัสตับอักเสบ ซี อาจทำได้ 2 วิธี

1. การตรวจจากน้ำเหลือง คือ การตรวจแอนติบอดี้ต่อไวรัสตับอักเสบ ซี

2. ตรวจกาโดยตรงจากการตรวจหาอาร์เอ็นเอ ของไวรัส

สำหรับการตรวจสายพันธุ์ของไวรัสตับอักเสบ ซี พบว่าสายพันธุ์ของมันมีความสัมพันธุ์อย่างมากกับความสำเร็จของการรักษา โดยพบว่า ไวรัสตับอักเสบ ซี อาจบ่งได้ 6 สายพันธุ์หลัก และมีสายพันธุ์ที่ง่ายต่อการักษาเพียง 5-6 เดือนก็หายได้แล้ว

เมื่อป่วยต้องทำอย่างไรดี

1. ไม่เป็นผู้แพร่เชื้อ ไม่ให้เลือด ไม่เจาะ ไม่สัก ไม่ใช้ ของที่ปนเปื้อนของเหลวกับคนอื่น การร่วมเพศก็ต้องสวมถุงยางอนามัย แล้วทำการรักษาให้หายขาด

2. ดูแลเรื่องอาการการกินให้สะอาด ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ดื่มเหล้า สูบบุหรี่เลย

3. หลีกเลี่ยงยาหรือสารที่ทำอันตรายต่อตับ ต้องแจ้งแพทย์ให้รู้ ไม่ควรใช้สมุนไพรบางอย่าง เช่น ใบขี้เหล็ก บอระเพ็ด เพราะพบว่าอาจทำให้เกิดตับอักเสบได้

4. ควรไปพบแพทย์สม่ำเสมอ เพื่อการรักษาและประเมินการทำงานของตับทุก 3 – 6 เดือน หรือกว่านี้ตามอาการ

การรักษา

เป้าหมายคือ ทำให้ไวรัสตับอักเสบ ซี ตัวนี้หมดไปจากร่างกาย ตับก็จะค่อยๆ คืนความปกติ ยาที่ใช้ในการรักษาได้ผลดี 2 ตัวที่ขอแนะนำ และไม่เป็นอีกหลังหยุดยาคือการให้ยา 2 ตัวร่วมกันเป็นยาฉีดในกลุ่มอินเตอร์เฟอรอนกับยากิน ไรบาไวริน

อินเตอร์เฟอรอน คือ

เป็นโปรตีน สามารถผลิตได้โดยภูมิต้านทานของเราในปริมาณจำกัด จะทำการต่อต้านหรือกำจัดไวรัสตับอักเสบ ซี การออกฤทธิ์โดยทั่วไปจะไปเสริมให้การทำลายไวรัสบางชนิดรวมถึงไวรัสตับอักเสบ บี และซี เสริมการทำงานของภูมิต้านทาน ปัจจุบันได้พัฒนายาชนิดนี้เป็น เพ็คกิเลตเตดอินเตอร์เฟอรอน ที่มีปะสิธิภาพการักษาที่สูงกว่าการออกฤทธิ์และยาวนานขึ้น มีผลข้างเคียงน้อยกว่า

ไรบาไวริน คือ

เป็นยาที่มีโครงสร้างคล้ายนิวคลีโอไซด์ เป็นสารในการสร้างอาร์เอ็นเอ หรือดีเอ็นเอของไวรัส

ปัจจุบันมาตรฐานการักษานั้น โดยการใช้ยาเพ็คกิเกตเตด อินเตอร์เฟอรอน ร่วมกับไรบาไวรินเป็นเวลา 24 สัปดาห์ในกรณีไม่ใช่ไวรัสสายพันธุ์ที่ 1 และถ้าเป็นสายพันธุ์ที่ 1 จะใช้ประมาณ 48 สัปดาห์ ก็หาย

ภัยเงียบ! ภัยร้าย! ป้องกันได้ วรัสตับอักเสบ ซี แม้จะไม่ทำลายร่างกายโดยเฉียบพลัน แต่ปล่อยไว้ก็ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต


บทความ : พลตรีนายแพทย์ อนุชิต จูฑะพุทธิ

จาก : นิตยสาร alternative health

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น